วันศุกร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2557

เว็บไซต์และเว็บบล็อกของเพื่อน

นางสาวนุชจิรา ปิ่นแก้ว 5320600429
     http://nootjira429.blogspot.com/
           http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320600429/index.html


นางสาวมุทิตา  ชมชื่น  5320600445
       http://mutita0445.blogspot.com/
            http://www.pirun.kps.ku.ac.th/~b5320600445/index.html


นายศักดิ์ณรงค์  พุ่มเพิ่ม 5320600471
       http://saknarong461.blogspot.com/
             http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320600461/index.html


นายธนะ  จิตต์กระจ่าง  5320600780
       http://thana0780.blogspot.com/
          http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320600780/index.html
  

นางสาวปรวีร์ธิดา  อัครวิวัฒน์กุล  5320600801
      http://paulravetida0801.blogspot.com/
             http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320600801/index.html


นางสาวนิสารัตน์  กลีบบัวทอง 5320601697
       http://nisarat1697.blogspot.com/
            http://www.pirun.kps.ku.ac.th/~b5320601697/index.html


นางสาวพชรพร  ทิมอินทร์  5320601719
     http://phacharaphorn719.blogspot.com/
          http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320601719/index.html


นางสาววิภาดา  ทรัพย์พร้อม 5320601743
      http://vipada1743.blogspot.com/
            http://www.pirun.kps.ku.ac.th/~b5320601743/index.html


นางสาวสายสุนีย์  สืบสุข 5320601751
      http://saysunee1751.blogspot.com/
            http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320601751/index.html


นายสุรเชษฐ์  พลฉวี  5320601778
       http://surachet1778.blogspot.com/
            http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320601778/index.html


นายอรรถชัย  จันบางยาง  5320601794
      http://atthachai1794.blogspot.com/
          http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320601794/index.html


นางสาววนิดา  ทิพย์กมลธนกุล  5320602171
       http://wanida171.blogspot.com/
            http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320602171/index.html


นางสาวสุธิดา  ทะสา  5320602189
       http://sutida189.blogspot.com/
            http://www.pirun.kps.ku.ac.th/~b5320602189/index.html


นางสาววนานุรัตน์  ดวงจินดา  5320602472
      http://wananurat02472.blogspot.com/
           http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320602472/index.html


นายรณกร  ไข่นาค 5320602685
        http://ronnakorn2685.blogspot.com/
             http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320602685/


นางสาวภัสรา  เพ็งใย  5320602707
       http://pussara707.blogspot.com/
             http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320602707/index.html




    

แหล่งอ้างอิง
http://indyindykawaii.exteen.com/20130225/entry

       รูปแบบการเรียนรู้ในอนาคต...การเรียนรู้แบบ Flipped  classroom



        
 วีดีโอตัวอย่างการเรียนการสอนแบบ Flipped classroom






แหล่งที่มาของข้อมูลอ้างอิง
    - http://www.knewton.com/flipped-classroom/
    - http://www.youtube.com/watch?v=4a7NbUIr_iQ
    - http://www.youtube.com/watch?v=iQWvc6qhTds
    - http://www.youtube.com/watch?v=ojiebVw8O0g
    - http://www.kmonic.com/search?updated-max=2012-12-14T21:34:00%2B07:00&max-results=7&start=7&by-date=false  
    - https://sites.google.com/site/sairoongmagic/freeklongtoktang 


วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การเรียนแบบ Collaborative Learning


          team-work1   

ความหมายของการเรียนแบบ Collaborative Learning

       การเรียนรู้ร่วมกัน  (Collaborative  Learning)  คือ  การเรียนรู้ที่เกิดจากผู้เรียนร่วมมือร่วมใจกัน
ศึกษาค้นคว้า  และปฏิบัติงาน  เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายอย่างเต็มความสามารถ  เน้นการเรียนรู้ร่วมกันโดยมีการยอมรับในบทบาทหน้าที่ของกันและกันภายในกลุ่มที่มีความถนัดที่ต่างกัน  ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  และแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการเรียนรู้และการทำงานทั้งส่วนของกลุ่มและส่วนของตนเอง

    

องค์ประกอบของการเรียนรู้ร่วมกัน 

มีทั้งหมด 5 องค์ประกอบคือ
       1.มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในทางบวก หมายถึง การที่สมาชิกในกลุ่มทำงานอย่างมีเป้าหมายร่วมกัน มีการทำงานร่วมกัน โดยที่สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงานนั้น ในการทำงานทุกคนมีบทบาท หน้าที่และประสบความสำเร็จร่วมกันครูผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมใ
ห้นักเรียนมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ในทางบวก เช่น การกำหนดเป้าหมายร่วมกัน กำหนดรางวัล
       2. มีการปฎิสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดในระหว่างการทำงานกลุ่ม เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ช่วยเหลือสมาชิกให้ประสบความสำเร็จ
       3. การตรวจสอบความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละคนเป็นการจัดกิจกรรมเพื่อให้แน่ใจว่าสมาชิกทุกคนมีความรับผิดชอบต่องานกลุ่ม เช่น การสุ่มถาม การสังเกต การทดสอบรายบุคคล
       4.  การใช้ทักษะระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย นักเรียนควรได้รับการฝึกทักษะที่จะช่วยให้งานกลุ่มประสบความสำเร็จ เช่น การสื่อสาร การแก้ปัญหา การใช้เหตุผล
       5. กระบวนการกลุ่ม  สมาชิกจะต้องร่วมกันรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของสมาชิกในกลุ่ม ดังนั้นผลงานของกลุ่มจะได้รับอิทธิพลมาจากการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการทำงานของสมาชิกในกลุ่ม

      

ตัวอย่างรูปแบบการเรียนรู้ร่วมกัน

       กิจกรรมโต๊ะกลม  เป็นรูปแบบการสอนที่จัดกลุ่มนักเรียนที่มีจำนวนมากกว่า 2 คน ขึ้นไป และเปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนในกลุ่มเขียนความคิดเห็นของตนเล่าประสบการณ์ความรู้ สิ่งที่ตนกำลังศึกษา ด้วยดินสอสีหรือปากกาสีลงบนกระดาษ แล้วเขียนให้เพื่อนคนถัดไปโดยเวียนไปทางด้านใดด้านหนึ่งอาจดัดแปลงจากการเขียนเป็นการพูดแทนก็ได้

       ปริศนาความรู้  เป็นการจัดการเรียนการสอนที่แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม ทุกกลุ่มจะได้รับมอบหมายให้ทำกิจกรรมเดียวกัน โดยครูผู้สอนแบ่งเนื้อหาของเรื่องที่จะเรียนออกเป็นหัวข้อย่อยเท่าจำนวนสมาชิกแต่ละกลุ่ม และมอบหมายให้นักเรียนแต่ละกลุ่มค้นคว้าคนละหัวข้อ โดยนักเรียนแต่ละคนจะเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องที่ตนได้รับมอบหมายจากกลุ่มสมาชิกต่างกลุ่มที่ได้รับมอบหมายในหัวข้อเดียวกันจะร่วมกันศึกษา จากนั้นแต่ละคนจะกลับเข้ากลุ่ม จากนั้นแต่ละคนจะกลับเข้ากลุ่มเดิมของตน เพื่ออธิบายหัวข้อที่ตนศึกษาให้เพื่อนร่วมกลุ่มฟัง เพื่อให้เพื่อทั้งกลุ่มได้รู้เนื้อหาครบทุกหัวข้อ ทำให้เพื่อนทั้งกลุ่มได้รับเนื้อหาครบทุกหัวข้อ เช่น กิจกรรมการเรีียนเรื่องระบบจำนวนจริง

                              
     
         การเรียนรู้เป็นกลุ่มเพื่อช่วยเหลือเพื่อนเป็นรายบุคคล  เป็นการเรียนการสอนที่ผสมผสานระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือและการเรียนการสอนรายบุคคลเข้าด้วยกัน เน้นการสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยให้นักเรียนทำกิจกรรมการเรียนด้วยตนเองตามความสามารถและส่งเสริมความร่วมมือภายในกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ และปฎิสัมพันธ์ทางสังคม เหมาะสมกับทุกวิชาและทุกระดับชั้น เช่น กิจกรรมการค้นหาคำศัพท์ภาษาอังกฤษ



                              
       

           

ประโยชน์ของการเรียนรู้แบบ Collaborative Learning

1.สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิก มีเจตคติที่ดีต่อการเรียน
2. ส่งเสริมให้สมาชิกทุกคนมีโอกาสคิด พูด แสดงออกแสดงความคิดเห็นลงมือกระทำอย่างเท่าเทียมกัน
3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกันเช่น เด็กเก่งช่วยเด็กไม่เก่งทำให้เด็กเก่งภาคภูมิใจรู้จักสละเวลา ส่วนเด็กอ่อนเกิดความซาบซึ้งในน้ำใจของเพื่อนสมาชิกด้วยกัน
4.ทำให้รู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การระดมความคิด การร่วมคิด นำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาร่วมกัน เพื่อหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุด รู้จักคิดวิเคราะห์และการตัดสินใจ
5.ส่งเสริมทักษะทางสังคมทำให้ผู้เรียนรู้จักปรับตัวในการอยู่ร่วมกันด้วยมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเข้าใจกันและกัน
6.ส่งเสริมทักษะการสื่อสารทักษะการทำงานเป็นกลุ่มสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
7.เป็นวิธีการหนึ่งที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น

  



แหล่งที่มาของข้อมูลและภาพ
-http://www.sahavicha.com/?name=blog&file=readblog&id=277
-http://www.l3nr.org/posts/259506
-http://piyaman-529.blogspot.com/
-http://www.kmonic.com/search?updated-max=2012-12-13T22:02:00%2B07:00&max-results=7&start=10&by-date=false
-http://www.gotoknow.org/posts/209790

การเรียน Blended Learning

ความหมายของการเรียนแบบ Blended Learning 

      การเรียนแบบ Blended Learning มีผู้ที่ให้ความหมายของรูปแบบการเรียนนี้ไว้หลายความหมายด้วยกัน แต่โดยความหมายโดยรวมแล้ว การเรียนแบบ Blended Learning หรือ การเรียนแบบผสมผสานนี้ เป็นกระบวนการจัดการเรียนการสอน ที่มีการนำรูปแบบการสอนหรือวิธีการสอน แหล่งการเรียนรู้ เทคนิคการสอนต่างๆมาสอน ซึ่งอาจจะสองวิธีหรือมากกว่าสองวิธีก็ได้ จะแบ่งออกเป็นสามมิติด้วยกัน คือ การผสมผสานการสอนผ่านสื่อการสอน การผสมผสานวิธีการเรียนการสอน และการสอนแบบเผชิญหน้ากับการสอนแบบออนไลน์ โดยมีเป้าหมายหลักคือการให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้เป็นสำคัญและมีการเรียนรู้เนื้อหาผ่านการใช้สื่อออนไลน์ในการทำกิจกรรมและการเก็บเนื้อหาความรู้


                               



องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบ Blended Learning
    ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบ Blended Learning
1. เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นปัจจุบัน ( Live Events ) เป็นลักษณะของการเรียนรู้ที่เรียกว่า “การเรียนแบบประสานเวลา (Synchronous)” จากเหตุการณ์จริงหรือสถานการณ์จาลองที่สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนในช่วงเวลาเดียวกัน เช่นเหตุการณ์ในการเรียนรู้ในชั้นเรียนที่เรียกว่า “ห้องเรียนเสมือน ( Virtual Classroom )” เป็นต้น
2. การเรียนเนื้อหาแบบออนไลน์ (Online Content) เป็นลักษณะการเรียนที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตามสภาพความพร้อมหรืออัตราการเรียนรู้ของแต่ละคน
3. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ (Collaboration) เป็นสภาพการณ์ทางการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถสื่อสารข้อมูลร่วมกันกับผู้อื่นจากระบบสื่อออนไลน์ เช่น e-Mail ,Chat , Blogs เป็นต้น
4. การวัดและประเมินผล (Assessment) การเรียนลักษณะดังกล่าวต้องมีการประเมินผลความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกระยะนับตั้งแต่การประเมินผลก่อนเรียน (Pre-assessment ) การประเมินผลระหว่างเรียน ( self-paced evaluation ) และการประเมินผลหลังเรียน (Post-assessment) เพื่อนาไปสู่การปรับปรุงพัฒนาการเรียนรู้ให้ดีขึ้นต่อไป
5. วัสดุประกอบการอ้างอิง (Reference Materials) การเรียนหรือการสร้างงานในการเรียนรู้แบบผสมผสานนั้นต้องมีการเรียนรู้และสร้างประสบการณ์จากการศึกษาค้นคว้า และอ้างอิงจากหลากหลายแหล่งข้อมูลเพื่อเพิ่มคุณภาพทางการเรียนให้สูงขึ้น



ขั้นตอนการออกแบบการเรียนแบบผสมผสาน 

การเรียนรู้แบบผสมผสานมีสิ่งต่างๆจะต้องพิจารณา ดังนี้
1. เพิ่มทางเลือกของวิธีการนำส่งการเรียนรู้ไปยังผู้เรียนให้มีความหลากหลายมากขึ้น จะเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับผู้ออกแบบ
2. เกณฑ์การตัดสินความสำเร็จในการเรียนรู้แบบผสมผสานไม่ได้มีเพียงเกณฑ์เดียว เช่น รูปแบบการเรียนรู้และวิธีการเรียนรู้ ซึ่งสามารถนำมาพิจารณาร่วมกันได้
3. การออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานจะต้องพิจารณาประเด็นของความเร็วในการเรียนรู้ ขนาดของผู้เรียน และการสนับสนุนช่วยเหลือผู้เรียน
4. สภาพแวดล้อมทางการเรียนของผู้เรียน จะมีความแตกต่างกันเป็นธรรมชาติซึ่งการจัดการเรียนรู้จะต้องสนับสนุนให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์เป็นสำคัญ
5. หน้าที่ของผู้เรียน จะต้องศึกษาและค้นพบตัวเอง เพื่อสร้างสรรค์ความรู้ตามศักยภาพของตนเอง
6. การออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานต้องการทีมงานออกแบบที่มีความรู้เรื่องการปรับปรุงด้านธุรกิจด้วย เช่นกัน
การเรียนการสอนทางไกลของ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ) ถือว่าเป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสานเช่นกัน

คอร์สการเรียนภาษาอังกฤษทางไกล ของ แอนดรูส์ บิ๊ก ที่ใช้ระบบ(Bkended Learning for Distance Learning) ซึ่งสามารถสอนนักเรียนพร้อมกันทีเดียวได้เป็นพันคน



ตัวอย่างการออกแบบการเรียนแบบ Blended Learning

 แนวทางการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน
 การออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานของ Purnima  Valiathan 
          1)  Skill-Driven  Model  เป็นการรวมกันของการเรียนด้วยตนเองกับการเรียนโดยมีผู้สอนหรือวัสดุสนับสนุนการสอน  ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาด้านความรู้
          2)  Attitude-Driven  Model  เป็นการรวมกันของเหตุการณ์ต่างๆที่มีปฏิสัมพันธ์ช่วยในการเรียนรู้กับสื่อต่างๆซึ่งนำไปสู่การพัฒนาด้านพฤติกรรม
          3)  Competency-Driven  Model  เป็นการรวมกันของการจัดการด้านองค์ความรู้โดยใช้วัสดุสนับสนุนการเรียนการสอนเป็นแหล่งเก็บข้อมูล กับการเรียนรู้โดยมีผู้ให้คำปรึกษา  ซึ่งนำไปสู่การพัฒนา
สมรรถนะด้านการพัฒนาวิธีการทำงานได้ด้วยตนเอง

The  Approach
Why
How
Skill-Driven  Model
เพื่อต้องการพัฒนาทางด้านความรู้และทักษะที่ต้องการเฉพาะ 
                    จัดกลุ่มผู้เรียนและแผนการเรียนรู้ที่ต้องเรียนด้วยตนเองที่ชัดเจน
                    จัดเตรียมวัสดุ/อุปกรณ์ รองรับและ
สนับสนุนการเรียนรู้
                   จัดกระบวนการเรียนการสอนให้มีการเรียนในห้องเรียนหรือผ่านระบบเครือข่าย
                    จัดเตรียมระบบเครือข่าย
               ออกแบบการสอนให้มีโครงงาน
Attitude-Driven  Model
เพื่อต้องการพัฒนาทางด้านพฤติกรรมและเจตคติที่ต้องการเฉพาะ 
                    จัดให้มีการประชุม/อบรม/สัมมนา
  ผ่านเว็บ
                    มอบหมายงานให้ทำเป็นกลุ่ม
                    จัดให้มีการแสดงบทบาทสมมติในการ
 เรียนรู้
Competency-Driven  Model
เพื่อต้องการพัฒนาทางด้านสมรรถนะด้านการพัฒนาวิธีการทำงานได้ด้วยตนเอง 
                    มีผู้เชี่ยวชาญ/ที่ปรึกษาควบคุมดูแล
                    มีระบบดำเนินกิจกรรมผ่านเครือข่าย
              (LCMS/LMS)

















การผสมผสานวิธีสอน
การผสมผสานเป็นรายชั่วโมงหรือรายคาบ
คำว่า รายชั่วโมงหรือรายคาบ หมายถึง รายครั้งที่มีการสอน เช่น เวลา 2 คาบ ลักษณะการผสมผสานทำได้ 3 ลักษณะ โดยถือเอาการสอนแบบบรรยายเป็นการสอนหลักมีดังนี้ (ไพฑูรย์  สินบารัตน์ 2534 : 149-153)
   1.1 การบรรยายเริ่มต้นชั่วโมง  เมื่อผู้สอนได้บรรยายไปพอสมควรและเห็นว่า ห้องเรียนจะมีอาการน่าเบื่อหน่าย ก็อาจจะเปลี่ยนวิธีการด้วยการให้ผู้เรียนอภิปรายหรือทำงานเป็นรายบุคคลได้
   1.2 การบรรยายอยู่กลางชั่วโมง บางครั้งอาจใช้การบรรยายไว้กลางชั่วโมง แล้วเริ่มต้นหรือปิดท้ายด้วยวิธีการอื่นๆ แต่ควรบรรยายสรุปก่อนเลิก
   1.3 การบรรยายไว้ท้ายชั่วโมง ในการสอนโดยทั่วไป ไม่จำเป็นจะต้องบรรยายก่อนแต่อาจเริ่มต้นด้วยกิจกรรมอื่นๆ ก่อน แล้วปิดท้ายด้วยการบรรยายก็ได้รูปแบบและกิจกรรมที่ยกมาให้ดูเป็นตัวอย่างนี้ เป็นเพียงตัวอย่างและกิจกรรมเนอแนะเท่านั้น ผู้สอนย่อมจะปรับปรุงเวลาและกิจกรรมได้แล้วแต่ความเหมาะสมของผู้สอน ผู้เรียน เวลา และวิชาที่สอนนั้นๆ



ประโยชน์

1. แบ่งเวลาเรียนอย่างอิสระ
2. เลือกสถานที่เรียนอย่างอิสระ
3. เรียนด้วยระดับความเร็วของตนเอง
4. สื่อสารอย่างใกล้ชิดกับครูผู้สอน
5. การผสมผสานระหว่างการเรียนแบบดั้งเดิมและแบบอนาคต
6. เรียนกับสื่อมัลติมีเดีย
7. เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง Child center
8. ผู้เรียนสามารถมีเวลาในการค้นคว้าข้อมูลมาก สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลได้อย่างดี
9. สามารถส่งเสริมความแม่นยำ ถ่ายโอนความรู้จากผู้หนึ่งไปยังผู้หนึ่งได้ สามารถทราบผลปฏิบัติย้อนกลับได้รวดเร็ว
.10. สร้างแรงจูงใจในบทเรียนได้
11. เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้
12. สามารถทบทวนความรู้เดิม และสืบค้นความรู้ใหม่ได้ตลอดเวลา
13. สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่รบกวนภายในชั้นเรียนได้ ทำให้ผู้เรียนมีสมาธิในการเรียน
14. ผู้เรียนมีช่องทางในการเรียน สามารถเข้าถึงผู้สอนได้
15. เหมาะสำหรับผู้เรียนที่ค่อนข้างขาดความมั่นใจในตัวเอง




แหล่งที่มาของข้อมูลและภาพ
-http://nipatanoy.wordpress.com/blended-learning-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%AA%E0%B8%B2/
-http://bunmamint10.blogspot.com/
-http://kunkoopagone.blogspot.com/2011/05/blended-learning.html
-http://www.sahavicha.com/?name=blog&file=readblog&id=5720
-http://www.kjn.ac.th/wordpress/srisakul/
-http://www.kmonic.com/search?updated-max=2012-12-14T14:08:00%2B07:00&max-results=7&start=7&by-date=false
-http://nipatanoy.wordpress.com/blended-learning-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%AA%E0%B8%B2/