วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การเรียน Blended Learning

ความหมายของการเรียนแบบ Blended Learning 

      การเรียนแบบ Blended Learning มีผู้ที่ให้ความหมายของรูปแบบการเรียนนี้ไว้หลายความหมายด้วยกัน แต่โดยความหมายโดยรวมแล้ว การเรียนแบบ Blended Learning หรือ การเรียนแบบผสมผสานนี้ เป็นกระบวนการจัดการเรียนการสอน ที่มีการนำรูปแบบการสอนหรือวิธีการสอน แหล่งการเรียนรู้ เทคนิคการสอนต่างๆมาสอน ซึ่งอาจจะสองวิธีหรือมากกว่าสองวิธีก็ได้ จะแบ่งออกเป็นสามมิติด้วยกัน คือ การผสมผสานการสอนผ่านสื่อการสอน การผสมผสานวิธีการเรียนการสอน และการสอนแบบเผชิญหน้ากับการสอนแบบออนไลน์ โดยมีเป้าหมายหลักคือการให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้เป็นสำคัญและมีการเรียนรู้เนื้อหาผ่านการใช้สื่อออนไลน์ในการทำกิจกรรมและการเก็บเนื้อหาความรู้


                               



องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบ Blended Learning
    ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบ Blended Learning
1. เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นปัจจุบัน ( Live Events ) เป็นลักษณะของการเรียนรู้ที่เรียกว่า “การเรียนแบบประสานเวลา (Synchronous)” จากเหตุการณ์จริงหรือสถานการณ์จาลองที่สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนในช่วงเวลาเดียวกัน เช่นเหตุการณ์ในการเรียนรู้ในชั้นเรียนที่เรียกว่า “ห้องเรียนเสมือน ( Virtual Classroom )” เป็นต้น
2. การเรียนเนื้อหาแบบออนไลน์ (Online Content) เป็นลักษณะการเรียนที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตามสภาพความพร้อมหรืออัตราการเรียนรู้ของแต่ละคน
3. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ (Collaboration) เป็นสภาพการณ์ทางการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถสื่อสารข้อมูลร่วมกันกับผู้อื่นจากระบบสื่อออนไลน์ เช่น e-Mail ,Chat , Blogs เป็นต้น
4. การวัดและประเมินผล (Assessment) การเรียนลักษณะดังกล่าวต้องมีการประเมินผลความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกระยะนับตั้งแต่การประเมินผลก่อนเรียน (Pre-assessment ) การประเมินผลระหว่างเรียน ( self-paced evaluation ) และการประเมินผลหลังเรียน (Post-assessment) เพื่อนาไปสู่การปรับปรุงพัฒนาการเรียนรู้ให้ดีขึ้นต่อไป
5. วัสดุประกอบการอ้างอิง (Reference Materials) การเรียนหรือการสร้างงานในการเรียนรู้แบบผสมผสานนั้นต้องมีการเรียนรู้และสร้างประสบการณ์จากการศึกษาค้นคว้า และอ้างอิงจากหลากหลายแหล่งข้อมูลเพื่อเพิ่มคุณภาพทางการเรียนให้สูงขึ้น



ขั้นตอนการออกแบบการเรียนแบบผสมผสาน 

การเรียนรู้แบบผสมผสานมีสิ่งต่างๆจะต้องพิจารณา ดังนี้
1. เพิ่มทางเลือกของวิธีการนำส่งการเรียนรู้ไปยังผู้เรียนให้มีความหลากหลายมากขึ้น จะเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับผู้ออกแบบ
2. เกณฑ์การตัดสินความสำเร็จในการเรียนรู้แบบผสมผสานไม่ได้มีเพียงเกณฑ์เดียว เช่น รูปแบบการเรียนรู้และวิธีการเรียนรู้ ซึ่งสามารถนำมาพิจารณาร่วมกันได้
3. การออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานจะต้องพิจารณาประเด็นของความเร็วในการเรียนรู้ ขนาดของผู้เรียน และการสนับสนุนช่วยเหลือผู้เรียน
4. สภาพแวดล้อมทางการเรียนของผู้เรียน จะมีความแตกต่างกันเป็นธรรมชาติซึ่งการจัดการเรียนรู้จะต้องสนับสนุนให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์เป็นสำคัญ
5. หน้าที่ของผู้เรียน จะต้องศึกษาและค้นพบตัวเอง เพื่อสร้างสรรค์ความรู้ตามศักยภาพของตนเอง
6. การออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานต้องการทีมงานออกแบบที่มีความรู้เรื่องการปรับปรุงด้านธุรกิจด้วย เช่นกัน
การเรียนการสอนทางไกลของ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ) ถือว่าเป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสานเช่นกัน

คอร์สการเรียนภาษาอังกฤษทางไกล ของ แอนดรูส์ บิ๊ก ที่ใช้ระบบ(Bkended Learning for Distance Learning) ซึ่งสามารถสอนนักเรียนพร้อมกันทีเดียวได้เป็นพันคน



ตัวอย่างการออกแบบการเรียนแบบ Blended Learning

 แนวทางการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน
 การออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานของ Purnima  Valiathan 
          1)  Skill-Driven  Model  เป็นการรวมกันของการเรียนด้วยตนเองกับการเรียนโดยมีผู้สอนหรือวัสดุสนับสนุนการสอน  ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาด้านความรู้
          2)  Attitude-Driven  Model  เป็นการรวมกันของเหตุการณ์ต่างๆที่มีปฏิสัมพันธ์ช่วยในการเรียนรู้กับสื่อต่างๆซึ่งนำไปสู่การพัฒนาด้านพฤติกรรม
          3)  Competency-Driven  Model  เป็นการรวมกันของการจัดการด้านองค์ความรู้โดยใช้วัสดุสนับสนุนการเรียนการสอนเป็นแหล่งเก็บข้อมูล กับการเรียนรู้โดยมีผู้ให้คำปรึกษา  ซึ่งนำไปสู่การพัฒนา
สมรรถนะด้านการพัฒนาวิธีการทำงานได้ด้วยตนเอง

The  Approach
Why
How
Skill-Driven  Model
เพื่อต้องการพัฒนาทางด้านความรู้และทักษะที่ต้องการเฉพาะ 
                    จัดกลุ่มผู้เรียนและแผนการเรียนรู้ที่ต้องเรียนด้วยตนเองที่ชัดเจน
                    จัดเตรียมวัสดุ/อุปกรณ์ รองรับและ
สนับสนุนการเรียนรู้
                   จัดกระบวนการเรียนการสอนให้มีการเรียนในห้องเรียนหรือผ่านระบบเครือข่าย
                    จัดเตรียมระบบเครือข่าย
               ออกแบบการสอนให้มีโครงงาน
Attitude-Driven  Model
เพื่อต้องการพัฒนาทางด้านพฤติกรรมและเจตคติที่ต้องการเฉพาะ 
                    จัดให้มีการประชุม/อบรม/สัมมนา
  ผ่านเว็บ
                    มอบหมายงานให้ทำเป็นกลุ่ม
                    จัดให้มีการแสดงบทบาทสมมติในการ
 เรียนรู้
Competency-Driven  Model
เพื่อต้องการพัฒนาทางด้านสมรรถนะด้านการพัฒนาวิธีการทำงานได้ด้วยตนเอง 
                    มีผู้เชี่ยวชาญ/ที่ปรึกษาควบคุมดูแล
                    มีระบบดำเนินกิจกรรมผ่านเครือข่าย
              (LCMS/LMS)

















การผสมผสานวิธีสอน
การผสมผสานเป็นรายชั่วโมงหรือรายคาบ
คำว่า รายชั่วโมงหรือรายคาบ หมายถึง รายครั้งที่มีการสอน เช่น เวลา 2 คาบ ลักษณะการผสมผสานทำได้ 3 ลักษณะ โดยถือเอาการสอนแบบบรรยายเป็นการสอนหลักมีดังนี้ (ไพฑูรย์  สินบารัตน์ 2534 : 149-153)
   1.1 การบรรยายเริ่มต้นชั่วโมง  เมื่อผู้สอนได้บรรยายไปพอสมควรและเห็นว่า ห้องเรียนจะมีอาการน่าเบื่อหน่าย ก็อาจจะเปลี่ยนวิธีการด้วยการให้ผู้เรียนอภิปรายหรือทำงานเป็นรายบุคคลได้
   1.2 การบรรยายอยู่กลางชั่วโมง บางครั้งอาจใช้การบรรยายไว้กลางชั่วโมง แล้วเริ่มต้นหรือปิดท้ายด้วยวิธีการอื่นๆ แต่ควรบรรยายสรุปก่อนเลิก
   1.3 การบรรยายไว้ท้ายชั่วโมง ในการสอนโดยทั่วไป ไม่จำเป็นจะต้องบรรยายก่อนแต่อาจเริ่มต้นด้วยกิจกรรมอื่นๆ ก่อน แล้วปิดท้ายด้วยการบรรยายก็ได้รูปแบบและกิจกรรมที่ยกมาให้ดูเป็นตัวอย่างนี้ เป็นเพียงตัวอย่างและกิจกรรมเนอแนะเท่านั้น ผู้สอนย่อมจะปรับปรุงเวลาและกิจกรรมได้แล้วแต่ความเหมาะสมของผู้สอน ผู้เรียน เวลา และวิชาที่สอนนั้นๆ



ประโยชน์

1. แบ่งเวลาเรียนอย่างอิสระ
2. เลือกสถานที่เรียนอย่างอิสระ
3. เรียนด้วยระดับความเร็วของตนเอง
4. สื่อสารอย่างใกล้ชิดกับครูผู้สอน
5. การผสมผสานระหว่างการเรียนแบบดั้งเดิมและแบบอนาคต
6. เรียนกับสื่อมัลติมีเดีย
7. เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง Child center
8. ผู้เรียนสามารถมีเวลาในการค้นคว้าข้อมูลมาก สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลได้อย่างดี
9. สามารถส่งเสริมความแม่นยำ ถ่ายโอนความรู้จากผู้หนึ่งไปยังผู้หนึ่งได้ สามารถทราบผลปฏิบัติย้อนกลับได้รวดเร็ว
.10. สร้างแรงจูงใจในบทเรียนได้
11. เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้
12. สามารถทบทวนความรู้เดิม และสืบค้นความรู้ใหม่ได้ตลอดเวลา
13. สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่รบกวนภายในชั้นเรียนได้ ทำให้ผู้เรียนมีสมาธิในการเรียน
14. ผู้เรียนมีช่องทางในการเรียน สามารถเข้าถึงผู้สอนได้
15. เหมาะสำหรับผู้เรียนที่ค่อนข้างขาดความมั่นใจในตัวเอง




แหล่งที่มาของข้อมูลและภาพ
-http://nipatanoy.wordpress.com/blended-learning-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%AA%E0%B8%B2/
-http://bunmamint10.blogspot.com/
-http://kunkoopagone.blogspot.com/2011/05/blended-learning.html
-http://www.sahavicha.com/?name=blog&file=readblog&id=5720
-http://www.kjn.ac.th/wordpress/srisakul/
-http://www.kmonic.com/search?updated-max=2012-12-14T14:08:00%2B07:00&max-results=7&start=7&by-date=false
-http://nipatanoy.wordpress.com/blended-learning-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%AA%E0%B8%B2/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น