วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การเรียนแบบ Collaborative Learning


          team-work1   

ความหมายของการเรียนแบบ Collaborative Learning

       การเรียนรู้ร่วมกัน  (Collaborative  Learning)  คือ  การเรียนรู้ที่เกิดจากผู้เรียนร่วมมือร่วมใจกัน
ศึกษาค้นคว้า  และปฏิบัติงาน  เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายอย่างเต็มความสามารถ  เน้นการเรียนรู้ร่วมกันโดยมีการยอมรับในบทบาทหน้าที่ของกันและกันภายในกลุ่มที่มีความถนัดที่ต่างกัน  ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  และแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการเรียนรู้และการทำงานทั้งส่วนของกลุ่มและส่วนของตนเอง

    

องค์ประกอบของการเรียนรู้ร่วมกัน 

มีทั้งหมด 5 องค์ประกอบคือ
       1.มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในทางบวก หมายถึง การที่สมาชิกในกลุ่มทำงานอย่างมีเป้าหมายร่วมกัน มีการทำงานร่วมกัน โดยที่สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงานนั้น ในการทำงานทุกคนมีบทบาท หน้าที่และประสบความสำเร็จร่วมกันครูผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมใ
ห้นักเรียนมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ในทางบวก เช่น การกำหนดเป้าหมายร่วมกัน กำหนดรางวัล
       2. มีการปฎิสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดในระหว่างการทำงานกลุ่ม เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ช่วยเหลือสมาชิกให้ประสบความสำเร็จ
       3. การตรวจสอบความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละคนเป็นการจัดกิจกรรมเพื่อให้แน่ใจว่าสมาชิกทุกคนมีความรับผิดชอบต่องานกลุ่ม เช่น การสุ่มถาม การสังเกต การทดสอบรายบุคคล
       4.  การใช้ทักษะระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย นักเรียนควรได้รับการฝึกทักษะที่จะช่วยให้งานกลุ่มประสบความสำเร็จ เช่น การสื่อสาร การแก้ปัญหา การใช้เหตุผล
       5. กระบวนการกลุ่ม  สมาชิกจะต้องร่วมกันรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของสมาชิกในกลุ่ม ดังนั้นผลงานของกลุ่มจะได้รับอิทธิพลมาจากการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการทำงานของสมาชิกในกลุ่ม

      

ตัวอย่างรูปแบบการเรียนรู้ร่วมกัน

       กิจกรรมโต๊ะกลม  เป็นรูปแบบการสอนที่จัดกลุ่มนักเรียนที่มีจำนวนมากกว่า 2 คน ขึ้นไป และเปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนในกลุ่มเขียนความคิดเห็นของตนเล่าประสบการณ์ความรู้ สิ่งที่ตนกำลังศึกษา ด้วยดินสอสีหรือปากกาสีลงบนกระดาษ แล้วเขียนให้เพื่อนคนถัดไปโดยเวียนไปทางด้านใดด้านหนึ่งอาจดัดแปลงจากการเขียนเป็นการพูดแทนก็ได้

       ปริศนาความรู้  เป็นการจัดการเรียนการสอนที่แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม ทุกกลุ่มจะได้รับมอบหมายให้ทำกิจกรรมเดียวกัน โดยครูผู้สอนแบ่งเนื้อหาของเรื่องที่จะเรียนออกเป็นหัวข้อย่อยเท่าจำนวนสมาชิกแต่ละกลุ่ม และมอบหมายให้นักเรียนแต่ละกลุ่มค้นคว้าคนละหัวข้อ โดยนักเรียนแต่ละคนจะเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องที่ตนได้รับมอบหมายจากกลุ่มสมาชิกต่างกลุ่มที่ได้รับมอบหมายในหัวข้อเดียวกันจะร่วมกันศึกษา จากนั้นแต่ละคนจะกลับเข้ากลุ่ม จากนั้นแต่ละคนจะกลับเข้ากลุ่มเดิมของตน เพื่ออธิบายหัวข้อที่ตนศึกษาให้เพื่อนร่วมกลุ่มฟัง เพื่อให้เพื่อทั้งกลุ่มได้รู้เนื้อหาครบทุกหัวข้อ ทำให้เพื่อนทั้งกลุ่มได้รับเนื้อหาครบทุกหัวข้อ เช่น กิจกรรมการเรีียนเรื่องระบบจำนวนจริง

                              
     
         การเรียนรู้เป็นกลุ่มเพื่อช่วยเหลือเพื่อนเป็นรายบุคคล  เป็นการเรียนการสอนที่ผสมผสานระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือและการเรียนการสอนรายบุคคลเข้าด้วยกัน เน้นการสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยให้นักเรียนทำกิจกรรมการเรียนด้วยตนเองตามความสามารถและส่งเสริมความร่วมมือภายในกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ และปฎิสัมพันธ์ทางสังคม เหมาะสมกับทุกวิชาและทุกระดับชั้น เช่น กิจกรรมการค้นหาคำศัพท์ภาษาอังกฤษ



                              
       

           

ประโยชน์ของการเรียนรู้แบบ Collaborative Learning

1.สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิก มีเจตคติที่ดีต่อการเรียน
2. ส่งเสริมให้สมาชิกทุกคนมีโอกาสคิด พูด แสดงออกแสดงความคิดเห็นลงมือกระทำอย่างเท่าเทียมกัน
3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกันเช่น เด็กเก่งช่วยเด็กไม่เก่งทำให้เด็กเก่งภาคภูมิใจรู้จักสละเวลา ส่วนเด็กอ่อนเกิดความซาบซึ้งในน้ำใจของเพื่อนสมาชิกด้วยกัน
4.ทำให้รู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การระดมความคิด การร่วมคิด นำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาร่วมกัน เพื่อหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุด รู้จักคิดวิเคราะห์และการตัดสินใจ
5.ส่งเสริมทักษะทางสังคมทำให้ผู้เรียนรู้จักปรับตัวในการอยู่ร่วมกันด้วยมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเข้าใจกันและกัน
6.ส่งเสริมทักษะการสื่อสารทักษะการทำงานเป็นกลุ่มสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
7.เป็นวิธีการหนึ่งที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น

  



แหล่งที่มาของข้อมูลและภาพ
-http://www.sahavicha.com/?name=blog&file=readblog&id=277
-http://www.l3nr.org/posts/259506
-http://piyaman-529.blogspot.com/
-http://www.kmonic.com/search?updated-max=2012-12-13T22:02:00%2B07:00&max-results=7&start=10&by-date=false
-http://www.gotoknow.org/posts/209790

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น