วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความหมายและอธิบาย GPRS, 3G และ GPS


GPRS 

         GPRS ย่อมาจาก General Packet Radio Service เป็นบริการใหม่ที่ล้ำสมัยของโทรศัพท์มือถือที่ไม่จำกัดอยู่แค่การใช้เสียง โดยมันมีความสามารถในการส่งข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ได้ด้วยความเร็วในระดับ 172 Kbps (ขณะที่โทรศัพท์มือถือดิจิตอลธรรมดาส่งได้ด้วยความเร็ว 9.6 Kbps) ซึ่งสามารถรองรับกับ การใช้งานอินเตอร์เน็ตอย่างง่ายๆ ได้อย่างไม่มีปัญหา ทำให้เราได้ใช้งานอินเตอร์เน็ตแบบย่อ ในฝ่ามือไม่ว่าจะเป็นการ Chat, Web, Browsing, FTP หรือ E-mail

          GPRS ได้ถูกกำหนดเป็นมาตรฐาน และมีกำหนดการที่จะออกใช้งานทั่วโลก โดยเริ่มมีการวางระบบเพื่อรองรับการใช้งานงานตั้งแต่ปี 2000 โดยปี 2001 นั้นจะเริ่มทดสอบให้บริการที่ความเร็ว 56 Kbps และ 112 Kbps ก่อน โดยทั้งหมดจะทำงานอยู่บนเครือข่ายโทรศัพท์ GSM เดิม (แต่ตัวเครื่องโทรศัพท์ GSM เดิม จะไม่สามารถใช้งานกับ GPRS ได้) 

         ประโยชน์ของ GPRS
         - ประหยัดค่าใช้จ่าย  เพราะ GPRS จะคิดอัตราค่าบริการในการใช้อินเตอร์เน็ต ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาในการรับและส่งข้อมูล ไม่ใช่ช่วงเวลาในการเชื่อมต่อ จึงจ่ายเพียงแค่อัตราค่าบริการในการดาวน์โหลด และอัพโหลดเท่านั้น
         - รวดเร็วยิ่งขึ้น  GPRS จะช่วยให้เชื่อมต่อ และรับข้อมูลต่างๆ ผ่านอินเตอร์เน็ตด้วยระยะเวลาที่รวดเร็วกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ GSM ทั่วไป ทำให้การเข้าสู่ web หรือการรับส่งe-mail เป็นไปอย่างสะดวก และง่ายดาย
         - น่าใช้  GPRS ทำให้ท่านได้รับข้อมูลในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบข้อความ หรือรูปแบบมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบไปด้วยรูปภาพ เสียง และวีดิโอ 



3G
        
         3G หรือ Third Generation เป็นเทคโนโลยีการสื่่อสารในยุคที่ 3 ป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ Walkman, กล้องถ่ายรูป และ อินเทอร์เน็ต 3G  การพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น
        
การพัฒนาของ 3G 

       1G ซึ่งเป็นยุคที่ใช้ระบบ Analog คือใช้สัญญาณวิทยุในการส่งคลื่นเสียง โดยไม่รองรับการส่งผ่าน
ข้อมูลใดๆทั้งสิ้น คือ โทรออก-รับสาย เท่านั้นไม่มีการรองรับการใช้งานด้าน Data ใดๆ ทั้งสิ้น

      2G ซึ่งเปลี่ยนจากการส่งคลื่นทางคลื่นวิทยุแบบ Analog มาเป็นการเข้ารหัส Digital ส่งทางคลื่น Microwave เป็นยุคที่เริ่มทำให้สามารถใช้งานทางด้าน Data ได้ นอกเหนือจากการใช้งาน Voice เพียงอย่างเดียว ในยุคนี้เกิดระบบ GSM (Global System for Mobilization) ที่ทำให้เราสามารถถือโทรศัพท์เครื่องเดียวแต่สามารถใช้ได้เกือบทั่วโลก หรือที่เรียกว่า Roaming เป็นยุคที่มีการเริ่มฮิต Download Ringtone , Wallpaper , Graphic ต่างๆ แต่ก็จะจำกัดอยู่ที่การ Downlaod Ringtone แบบ Monotone และ ภาพ Graphic ต่างๆก็เป็นเพียงแค่ภาพขาว-ดำที่มีความละเอียดต่ำ

      3G  จุดเด่นที่สุดของ 3G นั้นเป็นเรื่องของความเร็วในการเชื่อมต่อและการรับ-ส่งข้อมูล โดยเน้นการเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วยความเร็วสูง ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลต่างๆ รวดเร็วมากขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการ Multimedia ได้อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ เช่น การรับ-ส่ง File ที่มีขนาดใหญ่, การใช้บริการ Video/Call Conference , Download เพลง , ดู TV  อีกทั้งคุณสมบัติหลักที่เด่นๆ อีกอย่างหนึ่งของระบบ 3G ก็คือ Always On คือ มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดโทรศัพท์

                                      
GPS 
       
         GPS มาจากตัวย่อภาษาอังกฤษว่า Global Position System  หรือที่เรียกชื่อเป็นภาษาไทยว่า ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก ซึ่งในการกำหนดตำแหน่งบนโลกนั้นจะอาศัยความถี่ของสัญญาณนาฬิกาที่ส่งมาจากดาวเทียม เนื่องจากดาวเทียมนั้นโคจรอยู่รอบโลกทำให้สามารถบอกตำแหน่งต่างๆที่สามารถรับสัญญาณบนโลกได้ทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบันเครื่องรับสัญญาณ GPS สามารถคำนวณความเร็วและทิศทางเมื่อมาใช้งานควบคู่กับโปรแกรมแผนที่จึงเป็นใช้ข้อมูลเพื่อการนำทางได้
ในอดีต GPS ถูกพัฒนามาจากนักวิทยาศาสตร์ นำโดย Dr. Richard B. Kershner ในปี ค.ศ.1957 จากการส่งดาวเทียมสปุตนิกและพบปรากฎการณ์ดอปเปลอร์ของคลื่นวิทยุที่ส่งมาจากดาวเทียม ทำให้เกิดความรู้ใหม่ขึ้นนั่นคือ ปรากฎการณ์ดรอปเปลอร์นั้น หากเราทราบตำแหน่งบนโลกที่แน่นอน เราก็จะสามารถระบุตำแหน่งของดาวเทียมได้ เช่นเดียวกันถ้าหากเรารู้ตำแหน่งดาวเทียมที่แน่นอน เราก็จะสามารถระบุตำแหน่งบนพื้นโลกได้
ดาวเทียมจีพีเอส เป็นดาวเทียมที่มีวงโคจรระดับกลาง (Medium Earth Orbit: MEO) จะใช้การยืนยันตำแหน่งโดยอาศัยพิกัดจากดาวเทียมอย่างน้อย 4 ดวง  โดยทั้งระบบจะต้องมีดาวเทียม 24 ดวง หรือมากกว่า เพื่อให้สามารถยืนยันตำแหน่งได้ครอบคลุมทุกจุดบนผิวโลก



แหล่งที่มาของข้อมูล :

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น